วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเมืองวุ่นวาย



ควรยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ ?


ควรยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ ? (บทความพิเศษ)
การยกเลิกมาตรา 112 มีผลทำให้ประมุขของรัฐซึ่งถูกจำกัดสิทธิที่จะคุ้มครองตนเองโดยฐานะของตนในทางพฤตินัยไม่ได้รับความคุ้มครองและเสียสิทธิที่จะปกป้องตนเองในทางนิตินัยไปพร้อมกันด้วย
ผู้เขียนเป็นนักเรียนโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย รุ่นแรก จบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยรับราชการเป็นผู้พิพากษาและเป็นอาจารย์พิเศษสอนในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังคงทำงานด้านกฎหมายอยู่ ผู้เขียนเคยได้รับทุนฟูลไบรท์ไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นประเทศประชา ธิปไตยเต็มรูปแบบของโลก เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาถกเถียงกันอยู่ว่าประเทศไทยควรจะมีกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ ? ซึ่งผู้เขียนขอแสดงความเห็นในด้านกฎหมายเพื่อประกอบการพิจารณาของท่านทั้งหลายไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ประเทศไทยกำหนดห้ามหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และห้ามหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาไว้ในมาตรา 326 ความว่า
 " มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี "
 " มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
ข้อแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดาประการแรกก็คือ มาตรา 112 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่ารัฐเป็นผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิด ส่วนมาตรา 326 เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวซึ่งถ้าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ดำเนินคดีให้ เหตุที่บัญญัติไว้แตกต่างกันเช่นนี้เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ประมุขของรัฐจะไปฟ้องร้องกล่าวโทษพลเมืองของตนเอง หากยกเลิกมาตรา 112 ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิประมุขแห่งรัฐไม่ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการถูกหมิ่นประมาทได้
ยิ่งกว่านั้นการ " หมิ่นประมาท " หมายความว่า ใส่ความโดยไม่เป็นความจริงในลักษณะที่ทำให้ผู้ได้ยินได้ฟังเกลียดชังผู้ถูกใส่ความซึ่งเป็นการกระทำอันชั่วร้ายผิดศีลธรรม การยกเลิกมาตรา 112 มีผลทำให้ประมุขของรัฐซึ่งถูกจำกัดสิทธิที่จะคุ้มครองตนเองโดยฐานะของตนในทางพฤตินัยไม่ได้รับความคุ้มครองและเสียสิทธิที่จะปกป้องตนเองในทางนิตินัยไปพร้อมกันด้วย
ข้อ 2.กฎหมายอาญาของไทยเป็นกฎหมายที่มีความเป็นสากล กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองประมุขของรัฐต่างประเทศและผู้แทนของรัฐต่างประเทศด้วยดังจะเห็นได้จากมาตรา 133 และ มาตรา 134 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
" มาตรา 133 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
" มาตรา 134 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
ถ้ายกเลิกมาตรา 112 ผลตามกฎหมายก็คือ ประเทศไทยให้ความคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศแต่ไม่คุ้มครองประมุขของตนเองซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัยของอารยประเทศอย่างยิ่ง หากจะยกเลิกมาตรา 133 และมาตรา 134 ไปพร้อมกับมาตรา 112 ผลก็คือประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศป่าเถื่อนในสายตาสังคมโลกและไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศใดในโลกคบค้าสมาคมด้วย เพราะไม่ให้เกียรติแก่ประมุขของเขาซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศสูงสุดของประเทศเหล่านั้น
ข้อ 3. ในสังคมระหว่างประเทศมีหลักในการอยู่ร่วมกันข้อหนึ่งคือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน ( Reciprocity ) กฎหมายของประเทศที่เจริญแล้วในโลกไม่ว่าจะมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์ หรือประธานาธิบดี หรือเรียกชื่ออื่นใดก็ตาม ย่อมถือว่าประมุขของประเทศใดเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของประเทศนั้น แต่ละประเทศจะให้ความคุ้มครองสูงสุดแก่ประมุขของตนและให้ความคุ้มครองแก่ประมุขของประเทศอื่น เพื่อประเทศอื่นจะได้ให้ความคุ้มครองแก่ประมุขของตนเองด้วยแล้ว ย่อมมีผลทำให้ประเทศไทยต่ำต้อยกว่าประเทศอื่นใดในสายตาชาวโลก
ข้อ 4. ประมุขของประเทศใดก็ตามย่อมถือเป็นเกียรติยศสูงสุดของประเทศนั้นหากประมุขของประเทศใดไร้เกียรติพลเมืองของประเทศนั้นย่อมต่ำต้อยไร้ค่ากว่าพลเมืองของประเทศอื่นในโลก ถ้าคนไทยยังรักที่จะเป็นคนที่มีเกียรติก็จะต้องรักษาเกียรติยศแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศไว้สูงสุดจึงจะทำให้คนไทยมีเกียรติเหมือนพลเมืองชาติอื่นในโลก
ข้อ 5. ประมุขของแต่ละประเทศทั้งที่ได้รับการเลือกตั้งหรือโดยการแต่งตั้งล้วนแต่เป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ ขวัญและกำลังใจของประเทศนั้นๆ ความภาคภูมิใจของพลเมืองในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นก็คือ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขได้รับการคัดเลือกจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ( Supernatural ) ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการและประกอบคุณงามความดีมาก่อน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติจึงคัดเลือกให้มาเป็นประมุข
การแก้ไขกฎหมายใดๆ โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบทั้งภายในประเทศและในสังคมระหว่างประเทศ รวมทั้งโดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรมอาจทำให้บรรลุเป้าหมายด้านผลประโยชน์ของบุคคลบางคนบางกลุ่มแต่ก่อให้เกิดความหายนะใหญ่หลวงแก่ประชาชนส่วนใหญ่และประเทศชาติ
ขวัญชัย รัตนไชย
00000
อ่านแล้วชอบใจช่วยกันแชรต่อนะครับ
อย่างน้อยเมื่อมีคนถามมาเราก็จะได้ตอบอย่างมีเหตุผล อิงหลักกฎหมาย
โดยไม่ใช้อารมณ์ตัดสินแต่เพียงอย่างเดียว
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็ประมุข หมายถึงเราต้องปกปักรักษาทั้งประชาธิปไตยและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่คู่กัน มีความเชื่อมโยงอย่างมีเหตุมีผล
ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้
แคน ไทเมือง

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทุกๆ ครั้งที่เธอนั้นส่งรอยยิ้มเข้ามาทักทาย
ทุกๆ ครั้งที่เธอนั้นส่งสายตาเข้ามาหากัน
ทำให้ฉันนั้นแทบจะขึ้นสวรรค์
ทั้งที่ยังยืนอยู่ตรงนั้น
(แทบจะขึ้นสวรรค์ทั้งที่ยืนอยู่)

ทุกๆ ครั้งที่เธอนั้นคอยส่งเสียง และทุกข้อความ
ทุกๆ ครั้งที่เธอนั้นคอยเฝ้าถาม และเป็นห่วงฉัน
ทำให้ฉันนั้นแทบจะดิ้น ดิ้นตายอยู่ตรงนั้น

แต่ติดที่ฉันนั้นไม่ใช่เพียงคนเดียว
(เพียงคนเดียว เพียงคนเดียว)
ที่ได้รับท่าทีที่แสนดีเหล่านั้น

มันจึงเป็นความรัก ที่ไม่ถึงกับสุข
เป็นความทุกข์ ที่ไม่ถึงกับเศร้า
เป็นความรัก ที่ทั้งซึ้งทั้งเหงาอยู่ด้วยกัน
(เป็นความซึ้งและความเงียบเหงาอยู่ด้วยกัน)

จึงเป็นความรักที่มาพร้อมความอึดอัด
และเป็นความรักที่ไม่เคยเห็นภาพชัดๆ สักวัน
มีแค่ความรู้สึกครึ่งๆ กลาง ๆ
ข้างในใจของฉัน เพียงคนเดียว

ทุกๆ ครั้งที่มือของเรานั้น ได้มาสัมผัส
ทุกๆ ครั้งที่เธอนั้น บอกความลับให้ฉันฟัง
รู้ไหมว่าหัวใจของฉัน มันแทบละลายอยู่ตรงนั้น

แต่ติดที่ฉันนั้นไม่ใช่เพียงคนเดียว
(เพียงคนเดียว เพียงคนเดียว)
ที่ได้รับท่าทีที่แสนดีเหล่านั้น

มันจึงเป็นความรัก ที่ไม่ถึงกับสุข
เป็นความทุกข์ ที่ไม่ถึงกับเศร้า
เป็นความรัก ที่ทั้งซึ้งทั้งเหงาอยู่ด้วยกัน
(เป็นความซึ้งและความเงียบเหงาอยู่ด้วยกัน)

จึงเป็นความรักที่มาพร้อมความอึดอัด
และเป็นความรักที่ไม่เคยเห็นภาพชัดๆ สักวัน
มีแค่ความรู้สึกครึ่งๆ กลาง ๆ
ข้างในใจของฉัน เพียงผู้เดียว

ฉันไม่รู้ ระหว่างเรานั้นคืออะไร
และไม่รู้ต้องเป็นอย่างนี้ ไปอีกนานแค่ไหน

มันจึงเป็นความรัก ที่ไม่ถึงกับสุข
เป็นความทุกข์ ที่ไม่ถึงกับเศร้า
เป็นความรัก ที่ทั้งซึ้งทั้งเหงาอยู่ด้วยกัน
(เป็นความซึ้งและความเงียบเหงาอยู่ด้วยกัน)

จึงเป็นความรักที่มาพร้อมความอึดอัด
และเป็นความรักที่ไม่เคยเห็นภาพชัดๆ สักวัน
มีแค่ความรู้สึกครึ่งๆ กลาง ๆ

จึงเป็นความรัก ที่ไม่ถึงกับสุข
เป็นความทุกข์ ที่ไม่ถึงกับเศร้า
เป็นความรัก ที่ทั้งซึ้งทั้งเหงาอยู่ด้วยกัน

จึงเป็นความรักที่มาพร้อมความอึดอัด
และเป็นความรักที่ไม่เคยเห็นภาพชัดๆ สักวัน
มีแค่ความรู้สึกครึ่งๆ กลาง ๆ
ข้างในใจของฉัน เพียงผู้เดียว
อึดอัดในใจของตัวฉันเพียงผู้เดียว แค่คนเดียว
ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา
เศรษฐศาสตร์ (อังกฤษ: Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ
คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikosแปลว่าบ้านและnomosแปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของบ้าน(ครัวเรือน)) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ
  1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ(เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย)
  2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่
  1. เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics)
  2. เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics)
สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง
ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิคใหม่ (Neo - Classical Economics)

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์

แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่ อดัม สมิธ ได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง "ความมั่งคั่งของประชาชาติ" (The Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776 เป็นการเริ่มต้น
เดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 กลไกการตลาดเปรียบเสมือน "มือที่มองไม่เห็น" (Invisible Hand)

[แก้] อุปสงค์และอุปทาน

ดูบทความหลักที่ อุปสงค์และอุปทาน Supply-demand-right-shift-demand.svg
อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว

[แก้] ระดับราคา

ระดับราคาเป็นตัวแปรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับราคานั้นเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด ดังนั้นทฤษฎีราคาจะกล่าวถึงเส้นกราฟที่แทนการเคลื่อนไหวของปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ ณ เวลาต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวแปรที่วัดค่าได้อื่นๆ ในหนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ของ อดัม สมิธ ได้กล่าวเอาไว้ว่า มักจะมีภาวะได้อย่างเสียอย่างเสมอระหว่างราคาและความสะดวกสบาย ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นอยู่บนพื้นฐานของระดับราคาและทฤษฎี อุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แล้วเราสามารถส่งผ่านสัญญาณไปทั่วทั้งสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านทางระดับราคา เช่น ระดับราคาที่ต่ำลงจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ ในขณะที่ระดับราคาที่สูงขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทาน เป็นต้น
แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ในความเป็นจริงหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบของ ระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงถึงข้อเท็จจริงที่ระดับราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในหลายๆ ตลาด ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะเข้ามาแสดงประเด็นโต้แย้งเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุของความติดขัดในทางเศรษฐกิจ หรือระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งในที่สุดแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถบรรลุดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานได้
มีเศรษฐศาสตร์บางสาขาจะให้ความสนใจว่าระดับราคานั้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นกระแสหลักมักจะพบว่าภาวะความขาดแคลนซึ่งเป็นปัจจัยหลักนั้นไม่ได้สะท้อนลงไปยังระดับราคา จึงอาจจะกล่าวได้ว่ามี ผลกระทบภายนอก ของต้นทุน ด้วยเหตุที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะทำนายว่าสินค้าที่มีการขาดแคลนแต่มีราคาต่ำกว่าปกติ จะถูกบริโภคมากเกินพอดี (ให้ดู ต้นทุนทางสังคม) นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎี สินค้าสาธารณะ

[แก้] ชนิดของเศรษฐศาสตร์